มาตรฐาน HACCP มีความสำคัญกับธุรกิจเหล็กอย่างไร

อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนา และเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีทั้งบริโภคเองภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ     ดังนั้นความสะอาด และความปลอดภัยของอาหาร และเครื่องดื่มจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกมาจำหน่ายเท่านั้น แต่เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนในการผลิตไปจนถึงการเก็บรักษา รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องในระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าสู่อุตสาหรรมอาหารควรที่จะมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารเข้ามาควบคุม โดยมาตรฐานที่ทางเราจะนำเสนอในวันนี้ คือ การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP)

HACCP International เป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญในกลุ่มวิทยาศาสตร์การอาหาร และให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหาร ผ่านโปรแกรมการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์นั้นจะถูกตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้งานกับอาหารโดยตรง และสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยพิจารณาจากความสะอาด หรือส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับมาตรฐานของฟู้ดเกรด (Food grade) รวมไปถึงความทนทานของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะการใช้งานที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ความสะดวกในการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ก็จะได้รับการประเมินเช่นเดียวกัน โดยคำนึงถึงวิธีการทำความสะอาด และสุขอนามัยที่จำเป็นในระหว่างการใช้งานผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น ความทนทานต่อการกัดกร่อน สารเคมีทำความสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ, ความทนทานต่อรอบการทำความสะอาดซ้ำๆ, การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลดีต่อการทำความสะอาด อีกทั้งผลิตภัณฑ์ยังต้องผ่านการประเมินในแง่ของความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน 3 ข้อ ได้แก่

  1. ความเสี่ยงทางกายภาพ
  2. ความเสี่ยงทางสารเคมี
  3. ความเสี่ยงทางชีวภาพ

เนื่องจากการปนเปื้อนของอาหารไม่ได้มาจากส่วนผสม ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นถุงมือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูป ต่างล้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสกับอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความปลอดภัยเท่ากับส่วนผสมของอาหาร โดย HACCP ได้มีการแบ่งกลุ่มประเภทการใช้งาน (Food zone) ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. Food Zone Primary (FZP) สำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีอาหาร และเหมาะสำหรับการสัมผัสกับอาหาร เช่น ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง, สายพานลำเลียง, เขียง, ถ้วยเสิร์ฟ, อุปกรณ์ทำน้ำแข็ง, ภาชนะเก็บอาหาร

                     

  2. Food Zone Secondary (FZS) สำหรับการสัมผัสพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร แต่ไม่ควรสัมผัสอาหารระหว่างสภาวะการใช้งานปกติ เช่น ผ้าทำความสะอาด, น้ำยาฆ่าเชื้อพื้นผิว, น้ำยาล้างจาน

     

  3. Splash หรือ Spill Zone (SSZ) สำหรับใช้ในพื้นที่จัดการอาหาร เช่น ห้องครัว พื้นที่ผลิต และพื้นที่แปรรูป แต่ไม่เหมาะสำหรับการสัมผัสกับอาหาร หรือสิ่งของที่จะสัมผัสอาหารโดยตรง เช่น ผนังห้องครัว, ผนังห้องส่วนผลิตและแปรรูปอาหาร, แผงเครื่องมือวัด, สารเคมีสำหรับทำความสะอาดหน้าต่าง, ตู้ดูดควัน, อุปกรณ์ทำความสะอาดพื้น, วัสดุปูพื้น

     

  4. Non Food Zone (NFZ) สำหรับใช้ในพื้นที่จัดเก็บอาหาร แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีการจัดการอาหารแบบเปิด (ไม่ได้บรรจุหีบห่อ) เช่น อุปกรณ์สุขอนามัยมือ, ประตูระบายความร้อนสำหรับห้องเย็นแบบวอล์กอินในร้านค้าปลีก, ชั้นวางสำหรับโกดัง


บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย และอันตรายในอุตสาหกรรมอาหารที่อาจส่งผลต่อผู้บริโภค จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ SuperDyma® CRP และ SuperDyma® CRP Antibacterial ที่มีคุณสมบัติฟู้ดเกรด (Food grade) และได้รับการรับรองจาก HACCP International ประเภท Splash หรือ Spill Zone (SSZ) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบอาคารและโครงสร้าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่จัดการอาหาร เช่น ห้องครัว พื้นที่ผลิต หรือพื้นที่แปรรูปอาหาร รวมไปถึงพื้นที่จัดเก็บอาหาร อย่างเช่น ห้องเย็น แต่ไม่เหมาะสำหรับการสัมผัสกับอาหาร หรือสิ่งของที่จะต้องมีการสัมผัสอาหาร

อ้างอิง

  1. https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-trendsfoodbusiness
  2. http://macbeth.agro.ku.ac.th/wp-content/Intermediate-GMP/PDF/FSKN%20I%2015A.pdf
  3. https://www.proindsolutions.com/17530558/7-ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำโรงงานผลิตมาตรฐาน-haccp